บทความที่ได้รับความนิยม

วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556

ไขมันอุดตันในเส้นเลือดมีอาการอย่างไร

ไขมันอุดตันในเส้นเลือดมีอาการอย่างไร


สาเหตุ

          โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดจะเกิดขึ้น เมื่อมีการสะสมของไขมันหรือเส้นใยสะสม และก่อตัวเป็นแผ่นไขมันที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ แผ่นไขมันที่ก่อตัวขึ้นทำให้หลอดเลือดแดงแคบลงและอาจลดเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจและสมองทำให้มีอาการ เช่น คออักเสบ หรือภาวะขาดโลหิตเนื่องจากการอุดตันของทางเดินโลหิตฉับพลัน นอกจากนี้แผ่นไขมันยังสามารถแตกออกได้ทำให้ปิดกั้นกระแสโลหิตทั้งหมดแบบฉับพลัน หากเกิดในหัวใจจะทำให้เป็นโรคหัวใจวาย และหากเกิดในสมองจะทำให้เป็นโรคเส้นโลหิตในสมองอุดตัน  ซึ่งสาเหตุอาจจะมาจาก



          1. กรรมพันธุ์
          2. ที่รับประทานอาหารพวกแป้งมากเกินไป
          3. อ้วน หรือน้ำหนักเกิน
          4. การขาดการออกกำลังกาย
          5. เพศ/อายุ
          6. ดื่มสุรามาก
          7. ความเครียด
          8. ยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมนsteroid
          9. โรคบางอย่างมักจะร่มกับภาวะไขมันสูงได้แก่ โรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต ต่อมธัยรอยด์  ทำงานน้อย


อาการ

          สังเกตง่ายๆบางคนมีอาการคล้ายเป็นโรคหัวใจเช่น เหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก บางคนเป็นจนรู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้นไปชั่วขณะก็มี  อันตรายมากนะคะวิธีการรักษาก็มีหลายวิธีตามอาการไป  คนส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจะเป็นแบบเฉียบพลัน คือแสดงอาการและไม่สามารถช่วยชีวิตได้ทันเพราะไม่คิดว่าจะเป็นอาการของโรคนี้ เพราะบางคนจะมีการจุกแน่นที่ลิ้นปี่คล้ายอาการของโรคกระเพาะ


ยารักษา

          1. รักษาโดยใช้ยา
       
          เป็นวิธีการรักษาหลักในรายที่เป็นไม่มาก หรือช่วยลดอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบ อาจใช้เป็นวิธีการรักษาเดี่ยวๆ หรือใช้ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น
               - ยาลดไขมันในเลือด ในรายที่มีระดับไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย
               - ยากลุ่ม ACEI(=Angiotensin converting enzyme inhibitors)จะมีประโยชน์ในรายที่เป็นกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือในราย กล้ามเนื้อหัวใจตายที่มีการบีบตัวของหัวใจลดลงน้อยกว่า 40%

          2. รักษาโดยการสวนหัวใจทำบอลลูนขยายเส้นเลือด

               - ไม่สามารถทำได้ทุกราย
               - ทำได้เฉพาะในรายที่เส้นเลือดมีการตีบเฉพาะจุดอย่างชัดเจน และควรตีบมากกว่า 50% ขึ้นไป
               - มักทำในรายที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 1-2 เส้น(ถ้าตีบ 3 เส้นการผ่าตัดจะได้ผลดีกว่า)
               - ไม่ควรทำในรายที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กรณีเส้นเลือดตีบที่บริเวณโคนของเส้นเลือดแดงโคโรนารี่ด้านซ้าย

          การใส่ขดลวดพร้อมกับการทำบอลลูน(Stenting) ในปัจจุบันมักใส่ stent ร่วมด้วย ในรายที่ต้องทำบอลลูน เพื่อลดอัตราการเกิดตีบซ้ำ ของเส้นเลือด หลังทำบอลลูน จากการศึกษาพบว่า

          ถ้าทำบอลลูนโดยไม่ใส่ stent จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด 30-40%

          ถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ stentแบบธรรมดา จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด 20-30%

          ถ้าทำบอลลูนพร้อมกับใส่ stent แบบเคลือบยาต้านการตีบเส้นเลือด(drug eluting stent) จะมีอัตราการตีบซ้ำของเส้นเลือด <10%

          3. การผ่าตัดเปลี่ยนเส้นเลือด

          ใช้เส้นเลือดบริเวณ แขนทั้งสองข้าง ขาทั้งสองข้าง แล้วนำเส้นเลือดนั้นมาใช้เปลี่ยนบริเวณหัวใจแทนเส้นเลือดเดิมที่มีไขมันอุดตัน ดังนั้นคุณจะมีแผลเป็นรอยกรีดยาวบริเวณแขนด้านในจากข้อมือถึงข้อศอก ทั้งสองแขน ขาบริเวณ หัวเข่าด้านในถึงหว่างขาใกล้อวัยวะเพศทั้งสองข้าง และบริเวณหน้าอกจากคอลงมาถึงใต้ราวนม

          จากนั้นต้องพักรักษาตัวอีกเกือบเดือน คุณจะมีความรู้สึกว่าได้เกิดใหม่ อาการที่ตามมา ก็คือ คุณจะรู้สึกชาบริเวณแผลเป็นในบางครั้ง เพราะเส้นเลือดขาดหายไป ทำให้คุณต้องคอยนวดเนื้อบริเวณนั้นบ่อยๆ ยาก็ต้องกิน ที่สำคัญอาหารเค็มต้องงด เพราะหัวใจจะทำงานหนักมาก

ที่มา http://www.thaipharmacies.org/knowledge/disease/217-blood-vessels.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น