หลอดลมอักเสบมีอาการอย่างไร
โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis)
เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติด
เชื้อไวรัสเชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย
ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่
ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น
ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการ ไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด
ผู้ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย
โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน
การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน
การตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจภาพรังสีทรวงอก ช่วยวินิจฉัยแยกโรคปอดอักเสบ
ผู้ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย
โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน
การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน
การตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจภาพรังสีทรวงอก ช่วยวินิจฉัยแยกโรคปอดอักเสบ
แนวทางการรักษา
การรักษาโรคหลอดลมอักเสบนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็นในขณะนั้น เช่น การให้รับประทานยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือ ยาลดไข้ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะในกรณีผู้ป่วยเด็ก ไม่นิยมให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรือโรคหลอดลมโป่งพองได้ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างพอเพียง ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลมหากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาใหม่ที่ใช้ได้ผลดีชื่อ Telithromycin ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม ketolides จากการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยมาก
ขอบคุณบทความจาก http://www.panyathai.or.th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น