บทความที่ได้รับความนิยม

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เสียงเพลงมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร


เสียงเพลงมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร


“เสียงเพลง” ทำให้ออกกำลังกายได้”อึด”ขึ้น    เป็นเรื่องจริง 

ถ้าพูดถึงเสียงเพลงกับการออกกำลังกาย คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงการเต้นแอโรบิค เพราะเป็นกิจกรรมประกอบเพลงที่เป็นที่แพร่หลายในปัจจุบัน แต่หลายครั้งที่เหลือบไปเห็นผู้รักสุขภาพหลายคนวิ่งบนลู่ไฟฟ้าแล้วมีหูฟัง ติดหูอยู่ด้วย ซึ่งการฟังเพลงในการออกกำลังกายนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไม่น่าเชื่อ และการฟังเพลงไม่ได้มีผลต่ออารมณ์คนฟังเท่านั้น แต่กลับส่งผลดีต่อร่างกายมากมายเช่นกัน
การฟังเพลงมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร?

“เพลงแจ็ซ” (jazz) ช่วย เพิ่มอัตราการหายใจให้ถี่ขึ้นได้ และมีแนวโน้มกลับเข้าสู่สภาวะปกติเมื่อถึงช่วงใกล้จบเพลง ขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจ ร่างกายจะตอบสนองตามจังหวะของเสียงเพลง คือ เมื่อฟังเพลงที่มีจังหวะเร็ว หัวใจก็จะเต้นเร็วหรือทำงานหนักขึ้น ส่วนเพลงจังหวะช้า หัวใจก็จะเต้นช้าตามไปด้วย

ชนิดของเพลงก็มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ เช่น เพลงกระตุ้น (Stimulative music) คือ ร็อค, แร็พ,ฮิพฮอพ และเพลงแดนซ์ เพลงเหล่านี้จะส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นเพลงผ่อนคลาย (Sedative music)อย่าง เพลงแจ๊ซหรือเพลงคลาสสิค รวมทั้งเพลงบรรเลง สามารถช่วยลดการทำงานของหัวใจได้ ถ้าสามารถนำประเภทและประโยชน์ของเพลงไปปรับใช้กับการออกกำลังกายของผู้รัก สุขภาพได้อย่างเหมาะสมคงจะดีไม่น้อย

ประโยชน์ ของเพลงในการออกกำลังกายยังมีผลต่อความอดทนของร่างกายด้วยเช่นกัน นักวิจัยหลายคนได้ศึกษาผลของเพลง พบว่าเพลงช่วยเพิ่มความอดทนของกล้ามเนื้อในการลุก-นั่ง (Sit-up) และการดันพื้น (Push up) สำหรับ การเดินฟังเพลงนั้น เพลงจะช่วยให้การเดินมีอัตราที่เร็วขึ้น รวมทั้งเพลงยังช่วยเพิ่มระยะเวลาในการออกกำลังกาย โดยการเดินหรือการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งการฟังเพลงจังหวะช้าๆ เสียงเบาๆ จะทำให้เราออกกำลังกายได้นานกว่าการฟังเพลงจังหวะเร็วและเสียงดัง

มี ผลการวิจัยที่น่าสนใจของ อาจารย์วรรณี เจิมสุรวงศ์ และ อาจารย์อุไรรัตน์ ศรีวิบูลย์ นักศึกษาทุนโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษกของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ได้ศึกษาเรื่องผลของดนตรีที่มีต่อระยะเวลาในการออกกำลังกายของผู้ที่ออก กำลังกายและไม่ออกกำลังกาย ศึกษาโดยแบ่งเพลงออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเพลงคัดสรรซึ่งคัดเลือกจากเพลงไทยทุกประเภทถึง 400 เพลง เหลือเพียง 5 เพลง เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติ, ความรัก, ความ ใฝ่ฝัน มีเนื้อร้องที่สร้างสรรค์และทำนองไพเราะ กับกลุ่มเพลงที่ชอบ คือ เพลงที่กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนคุ้นเคยและชอบฟัง จากนั้นนำมาทดลองปฏิบัติจริงกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักศึกษาหญิงอายุ 18-22 ปี จำนวน 18 คน 9 คนแรกเป็นคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ และ 9 คนหลังไม่ออกกำลังกายเลย โดยให้กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้ารับการทดสอบโดยการฟังดนตรีคัดสรร ดนตรีที่ชอบและไม่ให้ฟัง พร้อมทั้งปั่นจักรยานไฟฟ้า ปรับความหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุก 1 นาที จนถึงระดับที่หมดแรงหรือไม่สามารถออกกำลังกายต่อไปได้

ผล การวิจัยพบว่า การฟังเพลงคัดสรรหรือเพลงที่มีเนื้อหาสร้างสรรค์ ทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น เมื่อเทียบกับการฟังเพลงที่ชอบและการไม่ฟังเพลงขณะออกกำลังกาย สำหรับผู้ที่ออกกำลังกายด้วยเพลงคัดสรร สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยานให้นานขึ้น ส่วนผู้ที่ไม่ออกกำลังกายการฟังเพลงไม่สามารถเพิ่มระยะเวลาในการปั่นจักรยาน ให้นานขึ้นได้

นอก จากผลการวิจัยของคนไทยแล้ว ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยบรูเนล ในอังกฤษ ได้ทดลองให้อาสาสมัคร 30 คน ฟังเพลงประเภทไหนก็ได้ พร้อมทั้งออกกำลังกายไปด้วย ผลปรากฏว่า อาสาสมัครสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 15 ซึ่งเป็นประโยชน์ในการช่วยให้คนอ้วนหรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจสามารถ อดทนที่จะทนออกกำลังกายได้นานขึ้น นอกจากนั้นผลการศึกษายังพบว่า เพลงที่เหมาะกับการกระตุ้นให้คนออกกำลังกาย จะต้องเป็นเพลงที่มีจังหวะความเร็วประมาณ 120-140 บีทต่อนาที

  เลือกเพลงอย่างไรให้เหมาะสมกับการออกกำลังกายของตัวเอง?

จังหวะ ของเพลง เลือกเพลงที่มีจังหวะชัดเจน โดยเฉพาะเสียงเบสหรือเสียงกลอง เพราะกลองจะเป็นเครื่องดนตรีที่ให้จังหวะได้ชัดเจนกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น ถ้าอยากกระตุ้นการทำงานของร่างกายควรเลือกเพลงที่มีจังหวะเร็วและเลือกเพลง จังหวะช้าถ้าต้องการผ่อนคลายหรือสร้างเสริมสมาธิ

เนื้อ เพลง ควรเลือกใช้เพลงในการออกกำลังกายที่เราสามารถร้องเพลงนั้นได้จะดีกว่าการฟัง เพลงเพียงอย่างเดียว ซึ่งการร้องเพลงในขณะออกกำลังกายจะช่วยให้เรามีสมาธิจดจ่อกับการร้องเพลง จนอาจลืมเหนื่อยไปเลย ที่สำคัญควรเลือกเพลงที่มีเนื้อร้องที่สร้างสรรค์หรือเสียงคลื่นกระทบฝั่ง เสียงน้ำตก เสียงนกร้อง ก็ช่วยให้อารมณ์และจิตใจสงบ จะช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายได้ดี

ความ ดัง เสียงเพลงที่ดังจะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการตื่นตัว หัวใจทำงานหนักขึ้น ไม่ควรเปิดเพลงดังมากขณะออกกำลังกาย หากใช้เสียงเพลงที่ดังในระดับต่ำถึงปานกลางจะช่วยให้เกิดความรู้สึกที่สงบ และผ่อนคลายร่างกาย เหมาะสำหรับช่วงการผ่อนคลายร่างกาย (Cool down) หลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกาย

ออกกำลังครั้งต่อไป ลองหาเพลงเพราะๆ ดนตรีสบายๆ ไปฟังกันบ้าง เผื่อจะออกกำลังกายกันได้นานขึ้นอีกหน่อย

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น