บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สารอาหารก่อมะเร็ง

สารอาหารก่อมะเร็ง


โรคมะเร็งถึงแม้ว่าในปัจจุบันเราจะไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงก็ตาม แต่จากการค้นคว้าวิจัยและสถิติทางการแพทย์ เราพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นมะเร็ง ได้แก่

•ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีราสีเขียว – เหลืองขึ้น บ่อยๆ เช่น ถั่วลิสงคั่วป่นที่มีราขึ้น จะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับ
•ผู้ที่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ เต้านม ต่อมลูกหมาก และมดลูก
•ผู้ที่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ที่มีพยาธิใบไม้ตับปนอยู่ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งของถุงน้ำดีในตับ


•ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารเค็มจัด ส่วนที่ไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง – ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือดินประสิว จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร และลำไส้ใหญ่

•ผู้ที่สูบบุหรี่จัด จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด และกล่องเสียง
•ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และถ้าทั้งดื่มสุรา และสูบบุหรี่ จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องปาก และช่องคอด้วย

•ผู้ที่เป็นพาหะของเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด บี จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งตับ และถ้าได้รับสารพิษอัลฟาท้อกซินด้วย โอกาสเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว

•ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือติดเชื้อไวรัส HIV จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
•ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม รังไข่ และลำไส้ใหญ่ชนิดมีติ่งเนื้อ และผู้ที่ตากแดดจัดจะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนัง
 ถึงแม้อาหารที่ถูกปรุงให้สุกด้วยการปิ้ง ย่าง และรมควันด้วยถ่าน จะมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน และรสชาติอร่อย แต่อาหารลักษณะนี้กลับแฝงภัยอันตรายที่น่ากลัว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อติดมันที่ปิ้งจนเกรียม รวมไปถึงเครื่องปรุงหรือส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อ  ซึ่งมีทั้งเกลือ น้ำตาล ซอส และผงชูรสที่ถูกเผาไหม้ไปพร้อมกับเนื้อด้วย ก็ล้วนแล้วแต่กลายเป็นสิ่งที่มีพิษต่อผู้รับประทานทั้งสิ้น

          ทั้งนี้จากการทดลองย่างเนื้อสเต็ก 1 กิโลกรัม ด้วยถ่านจนอาหารสุกเกรียมพบว่า จะเกิดมีสารเบ็นโซไพรีน (Benzopyrine) ในปริมาณที่มากเท่ากับการสูบบุหรี่ถึง 6 มวน และที่สำคัญสารชนิดนี้เป็นสารก่อมะเร็งที่เป็นอันตรายอย่างมากต่อตับอ่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น