บทความที่ได้รับความนิยม

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เนื้องอกเกิดจากอะไร


เนื้องอกเกิดจากอะไร

เนื้องอก หมายถึง ก้อนเนื้อผิดปกติที่เกิดขึ้นในอวัยวะต่างๆของร่าง กายตรงกับคำว่า ทูเมอร์ (Tumor หรือ Tumour) หรือบางครั้งเรียกว่า นีโอ พลาเซีย หรือ นีโอพลาสซึม (Neoplasia หรือ Neoplasm)
ลักษณะโดยทั่วไปของเนื้องอกส่วนใหญ่ คือเป็นก้อนเนื้อผิดปกติเกิดจากการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้อวัยวะที่มีเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น ใหญ่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกนั้นๆ ส่วนใหญ่เนื้องอกเวลาคลำดูจะมีความแข็งมากกว่าเนื้อปกติของอวัยวะนั้นๆ โดยมากถ้าเป็นอวัยวะปกติที่คลำได้ง่าย เช่น ผิวหนัง เต้านม อวัยวะเพศ ช่องปาก ต่อมไทรอยด์ ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำเหลือง ทวารหนัก และอัณฑะ เมื่อเกิดเนื้องอกขึ้นมาจะเห็นและคลำได้ง่าย เพราะจะเห็นเป็นก้อนทำให้อวัยวะนั้นมีขนาดใหญ่ผิดปกติ แต่ถ้าเป็นเนื้องอกที่เกิดที่อวัยวะภายในลึกๆจะสังเกตเห็นหรือคลำตรวจพบได้ยากมากจนกว่าจะมีขนาดใหญ่มากแล้วเช่น ปอด ตับ ไต มดลูก สมอง ตับอ่อน ม้าม ต่อมลูกหมาก และ กระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น

การที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่เป็นก้อนก็เพราะมีการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์ที่ผิดปกติของอวัยวะนั้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งการแบ่งตัวเพิ่มปริมาณของเซลล์นี้เป็นการแบ่งตัวที่ร่างกายควบคุมไม่ได้ ไปสั่งการหรือบังคับให้หยุดแบ่งตัวเพิ่มปริมาณไม่ได้ จึงค่อยๆเพิ่มจำนวนของเซลล์ในก้อนเนื้องอกและขนาดก็ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ

เนื้องอกถือเป็นความผิดปกติของร่างกายมนุษย์ หรือเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งทางการแพทย์จัดไว้ในกลุ่มที่เรียกว่า นีโอพลาเซีย (Neoplasia)
เนื้องอกมีกี่ชนิด? เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงต่างจากเนื้องอกมะเร็งอย่างไร?เนื้องอก แบ่งใหญ่ๆเป็น 2 ชนิดคือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) ทางการแพทย์เรียกว่า Benign tumor หรือ Benign neoplasia อีกชนิดคือ เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือที่เรียกว่าโรคมะเร็ง ทางการแพทย์เรียก ว่า Malignant tumor หรือ Malignant neoplasia หรือ Cancerเนื้องอกทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันในพฤติกรรมของเซลล์ของเนื้องอก ได้แก่ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงจะโตช้าๆ เพราะเซลล์ของเนื้องอกแบ่งตัวช้า 

ไม่ค่อยมีการแทรกตัวเข้าไประหว่างเซลล์ปกติ ไม่ค่อยมีการทำลายเซลล์ปกติใกล้เคียง และที่สำคัญที่สุดคือ ไม่มีการกินทะลุเข้าไปในหลอดเลือดและท่อน้ำเหลือง ทำให้ไม่มีโอกาสที่เซลล์เนื้องอกจะแพร่ กระจายตามหลอดเลือด และหลอดน้ำเหลืองไปเติบโตเป็นก้อนที่อวัยวะอื่นๆที่อยู่ไกลออกไปได้

ในทางตรงกันข้าม เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย หรือโรคมะเร็ง จะมีขนาด โตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเพิ่มปริมาณเร็วมาก เซลล์ มะเร็งจะเบียดแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างเซลล์ปกติใกล้เคียง และทำลายเซลล์ปกติเหล่านั้นด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ เซลล์มะเร็งสามารถแทรกตัวทะลุเข้าไปในหลอดน้ำเหลืองและหลอดเลือดได้ และอาศัยการไหลเวียนของเลือด และน้ำเหลือง นำพาเอาเซลล์มะเร็งเหล่านี้แพร่กระจายไปเจริญเติบ โตเป็นก้อนมะเร็งก้อนใหม่ที่อวัยวะอื่นๆได้ การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปสู่อวัยวะอื่นๆนี้ทางการแพทย์เรียกว่า เมตาสะเตสีส (Metastasis) ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้คนไข้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้

ในบทนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ส่วนเนื้องอกชนิดร้ายแรง จะกล่าวถึงในบทเรื่อง โรคมะเร็ง
อนึ่ง เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง เป็นโรคที่พบได้น้อย แต่พบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยนัก และจากการที่พบโรคได้น้อย จึงยังไม่มีสถิติที่ชัดเจนของโรค เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง พบได้ในทุกอายุ ตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้ สูงอายุ ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดได้เท่ากันเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีสาเหตุจากอะไร?

เช่นเดียวกับโรคมะเร็ง สาเหตุที่แน่ชัดของเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ยังไม่ทราบ แต่จากการศึกษาต่างๆ อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ได้แก่
ได้รับสารเคมีบางอย่าง ต่อเนื่องเรื้อรัง เช่น จากสารพิษในควันบุหรี่ สารพิษในแอลกอฮอล์ สารพวกสีย้อมผ้าต่างๆ จากยาบางชนิด เช่น ยาสาร เคมีที่ใช้รักษาโรคมะเร็งติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น ไวรัสเอชพีวี ที่เป็นสาเหตุเกิดโรคหูดได้รับรังสีบางชนิด เช่น เนื้องอกต่อมไทรอยด์ จากได้รับรังสีจากสารไอโซโทปกรณีอุบัติเหตุต่อโรงงานที่ใช้พลังงานปรมาณู

มีพันธุกรรมผิดปกติ เช่น เนื้องอกของลำไส้ใหญ่เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีอาการอย่างไร?
อาการของเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงมีได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นเนื้องอกว่าอยู่ตื้นๆเช่นผิวหนัง หรืออยู่ลึกภายในร่างกายซึ่งมองเห็นภาย นอกได้ยาก แต่โดยทั่วๆไปแล้ว เนื้องอกมักจะมีอาการดังนี้คือมีก้อนเนื้อผิดปกติเกิดขึ้นที่อวัยวะนั้น เช่น มีก้อนนูนเกิดขึ้นที่ผิว หนัง หรือคลำก้อนเนื้อผิดปกติซึ่งไม่เคยมีมาก่อนได้ในเต้านม หรือในช่องท้อง หรือตามแขนขา ก้อนเนื้อเหล่านี้อาจคลำได้โดยตัวผู้ป่วยเอง คลำได้โดยญาติ เช่นมารดาคลำก้อนที่ผิดปกติได้ในท้องของบุตรที่ยังเป็นเด็กทารก หรือตรวจพบ

โดยแพทย์ที่ตรวจร่างกายก็ได้ ก้อนเนื้อที่คลำได้นี้อาจมีขนาดเล็กถ้าอยู่ในระยะเริ่มเป็นและโดยมากจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้าๆตามเวลาที่ผ่านไป หลักในการสังเกตทั่วไปคือถ้าเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งมักจะมีขนาดใหญ่ขึ้นช้ากว่าเนื้องอกที่เป็นมะเร็งก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เกิดนั้น มักจะไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้ามีก้อนผิดปกติเกิดขึ้นและมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยโดยมากจะเกิดจากการอักเสบมากกว่าจากเนื้องอก เช่น เป็นฝี (Abscess) แต่เนื้องอกไม่ร้ายแรงบางชนิดก็อาจจะมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยได้ เช่นเนื้องอกไปกดเส้น ประสาทที่อยู่ใกล้เคียง เนื้องอกที่มีการอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน เป็นต้น

ก้อนเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงที่เกิดขึ้น อาจจะทำให้การทำงานของอวัยวะนั้นผิดปกติไปจากเดิม ยกตัวอย่างเช่น เนื้องอกของต่อมไทรอยด์ที่ไม่ใช่มะเร็ง (Follicular adenoma) อาจจะผลิตฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์

(Thyroxine) ที่มากผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการของต่อมไทรอยด์เป็นพิษได้ หรือฮอร์โมน Aldosterone ที่ผลิตออกมาจากเนื้องอกชนิด Cortical adenoma ของต่อมหมวกไต ก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตสูงได้ นอกจากนั้น เนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง แต่ไปเกิดในอวัยวะสำคัญ เช่น สมอง ก็อาจจะกดเนื้อสมองทำให้สมองทำงานผิดปกติมีอาการคล้ายโรคอัมพาต อาการชัก หรือ ตามองไม่เห็นได้ เป็นต้นแพทย์วินิจฉัยเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงได้อย่างไร?

การวินิจฉัยเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรงของแพทย์ ใช้หลักการเดียวกับการวินิจฉัยโรคอื่นๆได้แก่การซักถามประวัติอาการของผู้ป่วยเป็นอันดับแรกว่า มีอาการผิด ปกติเป็นอย่างไร เกิดที่ส่วนไหนของร่างกาย เป็นมาเป็นเวลานานเท่าใดแล้ว มีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่ ก้อนโตเร็วหรือโตช้า มีประวัติการเป็นเนื้องอกในครอบครัวหรือไม่ เป็นต้น

การตรวจร่างกาย โดยมากแพทย์จะตรวจร่างกายทั่วทุกระบบโดยไม่จำเป็นต้องตรวจเฉพาะส่วนที่มีอาการเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อหาความผิดปกติอื่นๆที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน โดยอาจรวมถึงการตรวจภายใน และนำเซลล์จากช่องคลอดและปากมดลูกมาเพื่อการตรวจทางเซลล์วิทยา ที่เรียกว่า แปบสเมียร์ (Pap smear) เพื่อตรวจโรคมะเร็งปากมดลูกด้วย

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจอุจจาระ ทั้งนี้จะตรวจมากน้อยเท่าใด หรือตรวจอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยนำข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ และตรวจร่างกายมาประกอบในการเลือกชนิดการตรวจด้วย ปัจจุบันการตรวจสารที่หลั่งออก มาจากเซลล์เนื้องอก หรือสารมะเร็ง (Tumor marker) ก็มีประโยชน์ในการวินิจฉัยชนิดของเนื้องอกบางชนิดด้วย
การตรวจทางรังสีวิทยา (เอกซเรย์) รวมทั้งการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) การตรวจเอ๊กซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจคลื่นแม่ เหล็กไฟฟ้าเอมอาร์ไอ (MRI) และการตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่เรียกว่า เพทสะแกน (PET scan) เป็นต้น การตรวจเหล่านี้จะสามารถทำให้เห็นรูปร่าง ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอกชัดเจนขึ้น

การตรวจทางพยาธิวิทยา และ/หรือ การตรวจทางเซลล์วิทยา ซึ่งโดยมากได้จากการเจาะดูดเซลล์จากก้อนเนื้องอกมาตรวจ (Fine needle aspiration , FNA) หรือตัดชิ้นเนื้อบางส่วนของก้อนเนื้องอกมาตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy) จะทำให้ทราบชนิดของเนื้องอกได้ชัดเจนขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น